๑. ตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ด้วยเทคนิคและวิธีการตรวจสอบที่ยอมรับโดยทั่วไป ปริมาณมากน้อยตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในและความสำคัญของเรื่องที่ตรวจสอบ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการบริหารและการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ
๒. ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารงาน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารงานด้านอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตาม นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งของ มหาวิทยาลัยและทางราชการตลอดจนการตรวจสอบการคงอยู่ของทรัพย์สินและการดูแลทรัพย์สิน และการใช้ทรัพยากรทุกประเภท ว่า เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการประหยัด
๓. ประเมินผลการปฏิบัติงานและเสนอแนะวิธีการเหมือนมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานตาม (๑) และ (๒) เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและประหยัดยิ่งขึ้น รวมทั้งเสนอแนะและเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายหรือการทุจริตรั่วไหลเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
๔. ติดตามผลการปฏิบัติงาน และสั่งการเร่งรัดผู้บริหารของหน่วยรับตรวจให้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามที่ได้รับรับตรวจสอบ การประเมินผล ข้อเสนอแนะวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงตามข้อ ๑๒ (๑) (๒) และ (๓)
๕. ประสานงานกับผู้ตรวจสอบภายในระดับกระทรวง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบของมหาวิทยาลัย บรรลุเป้าหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๖. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือจากแผนการตรวจสอบประจำปี